เมื่อพูดถึงการตกแต่งพื้นบ้านที่ให้บรรยากาศเป็นธรรมชาติ หลายคนมักจะคิดถึงกระเบื้องลายไม้ แต่ในปัจจุบันกระเบื้องยาง SPC แบบก้างปลากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความสวยงาม สบายเท้า คุณสมบัติกันไฟลาม กันน้ำ และรูปแบบการปูก้างปลาที่ช่วยให้ห้องมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นทำให้เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับการลงทุน ในบทความนี้ ไทย สุงฯ มาแนะนำวิธีการติดตั้งกระเบื้องยางลายก้างปลาด้วยตัวเอง สำหรับมือใหม่ที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่ภายในบ้านอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับช่างมืออาชีพ
ความแตกต่างระหว่างกระเบื้องยางลายก้างปลา และกระเบื้องยางแบบทั่วไป
กระเบื้อง SPC ลายก้างปลา ได้รับการออกแบบ และพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นจากกระเบื้อง SPC รุ่นดั้งเดิม โดยเพิ่มคุณสมบัติที่เน้นทั้งความสะดวกในการติดตั้งในรูปแบบก้างปลา และประสิทธิภาพการใช้งาน รวมถึงการออกแบบที่เพิ่มความสวยงาม โดยมีความแตกต่างจากกระเบื้องยางแบบเดิม ดังนี้
1. ระบบคลิกล็อกที่ใหญ่ และแข็งแรงขึ้นกระเบื้อง SPC ลายก้างปลามีระบบคลิกล็อกที่ถูกพัฒนาขึ้นให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ทำจากวัสดุที่ทนทาน และมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยลดโอกาสการเสื่อมสภาพของระบบคลิกหลังจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ขนาดที่เพิ่มขึ้นของคลิกล็อกยังทำให้การติดตั้งทำได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น โดยการเชื่อมต่อแผ่นกระเบื้องเข้าด้วยกันในรูปแบบก้างปลาจะทำได้อย่างแน่นหนา และมั่นคง ลดปัญหาการหลุด หรือลื่นออกของแผ่นกระเบื้องหลังการติดตั้ง ทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ในความปลอดภัย และความสวยงามของพื้นผิวที่ต่อเนื่องกัน
2. ผิวหน้าแบบ Wood Embossed ( ลายไม้แบบนูน )ผิวหน้าของกระเบื้องถูกออกแบบให้มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า "Wood Embossed" ซึ่งเป็นการสร้างร่อง หรือเทกเจอร์ ( Texture ) บนพื้นผิวกระเบื้องให้มีลักษณะเหมือนไม้จริง ร่องลึกเหล่านี้ถูกสร้างตามลวดลายของไม้เพื่อให้ความรู้สึกที่ใกล้เคียงกับไม้ธรรมชาติที่สุด นอกจากการมองเห็นที่ดูสมจริงแล้ว ยังให้ผิวสัมผัสที่เพิ่มความรู้สึกเป็นธรรมชาติเสมือนไม้จริงเมื่อเท้าสัมผัสกับพื้นผิว ช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น และหรูหราให้กับพื้นที่ใช้งานได้เป็นอย่างดี
3. ติดตั้งง่ายด้วยตัวมาร์กหลังกระเบื้องกระเบื้อง SPC ลายก้างปลาได้รับการออกแบบให้มีระบบระบุด้านหลังที่ชัดเจน ด้วยการใช้สีของโฟมที่แตกต่างกันสำหรับด้าน A และด้าน B จุดนี้จะช่วยให้ผู้ติดตั้งสามารถระบุตำแหน่งในการจัดวางแผ่นกระเบื้องได้อย่างง่ายดาย และออกมาสวยงาม การระบุทิศทางนี้ยังช่วยลดความผิดพลาดในการวางกระเบื้องลงบนพื้น ทำให้ผลลัพธ์ของการติดตั้งมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และทำให้ลวดลายของกระเบื้องก้างปลาถูกจัดเรียงอย่างถูกต้อง และสวยงามตามที่ออกแบบไว้
4. ง่ายต่อการติดตั้งในพื้นที่แคบกระเบื้องมีการปรับขนาดให้เล็กลงมาเป็น 10x60 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เล็ก และกะทัดรัดกว่ากระเบื้องยางแบบเดิม ขนาดที่เล็กนี้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานในพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก หรือแคบ เช่น ซอก มุมที่มีขนาดเล็ก หรือบริเวณที่ต้องการการออกแบบที่ละเอียด การใช้กระเบื้องขนาดเล็กจะช่วยให้สามารถจัดเรียงลวดลายได้ชัดเจน และมีความโดดเด่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการสุ่มลวดลายที่หลากหลาย รวมไปถึงลวดลายที่มองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มมิติ และความลึกให้กับพื้นผิว นอกจากนี้ขนาดที่เล็กลงยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างกระเบื้องยางแบบก้างปลา ทำให้กระเบื้องมีความทนทานต่อแรงกระแทก และการใช้งานในระยะยาวได้ดีมากยิ่งขึ้น
วิธีติดตั้งกระเบื้องยางลายก้างปลา
การติดตั้งกระเบื้องยางลายก้างปลาด้วยตนเองต้องใช้ความละเอียดรอบคอบเนื่องจากลักษณะลายที่ซับซ้อนกว่ากระเบื้องทั่วไป แต่ถ้ามีการวางแผน และทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องก็สามารถปูกระเบื้องลายก้างปลาให้ออกมาสวยงามได้
อุปกรณ์สำหรับการติดตั้งกระเบื้องลายก้างปลา ● ค้อนยาง
● ไม้วัดระดับ
● ตลับเมตร หรือไม้บรรทัด
● คัตเตอร์
● ดินสอ หรือปากกาเมจิก
● ชอล์กเส้น
ขั้นตอนการติดตั้ง
1.เตรียมพื้นผิวก่อนเริ่มการติดตั้ง ควรทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดหมดจด ไม่ให้มีฝุ่น คราบน้ำมัน หรือสิ่งสกปรกใด ๆ พื้นผิวควรเรียบเสมอกัน หากพบว่ามีหลุม หรือรอยแตก ควรซ่อมแซมด้วยปูนปรับระดับพื้นเพื่อให้กระเบื้องติดตั้งได้อย่างแน่นหนา และปูทับด้วยแผนกันความชื้นเพื่อลดความชื้นใต้พื้นกระเบื้องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2.การวัด และเตรียมการจัดวางเริ่มจากการใช้ตลับเมตรวัดขนาดของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าคุณมีกระเบื้องเพียงพอสำหรับการติดตั้ง ต่อมาจึงใช้ชอล์กเส้น ( Chalk Line ) ตีเส้นแบ่งแนวกึ่งกลางของห้องทั้งในแนวขวาง และแนวยาว จุดที่เส้นตัดกันจะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการจัดวางกระเบื้อง ช่วยให้ลายก้างปลาของคุณมีความตรง และสมมาตร
ขั้นตอนการคำนวณปริมาณกระเบื้องในการใช้งาน
2.1. วัดพื้นที่ที่จะติดตั้งเริ่มต้นโดยการวัดพื้นที่ทั้งหมดที่ต้องการติดตั้งกระเบื้องยาง
● วัดความกว้าง และความยาวของห้องเป็นเมตร
● นำความกว้างมาคูณกับความยาว จะได้พื้นที่เป็นตารางเมตร
ตัวอย่าง
● ห้องกว้าง 8 เมตร ยาว 9 เมตร
● พื้นที่ห้อง = 8 เมตร * 9 เมตร = 72 ตารางเมตร
2.2. สำรองปริมาณกระเบื้องสำหรับการตัด และส่วนที่เกิดความเสียหายการติดตั้งลายก้างปลาจะต้องเผื่อปริมาณกระเบื้องเพิ่มเติม เนื่องจากการจัดเรียงที่ซับซ้อน และอาจมีการตัดกระเบื้องตามมุม โดยปกติแล้วควรเผื่อปริมาณกระเบื้องเพิ่มเติมประมาณ 10-15% จากปริมาณที่คำนวณได้ เพื่อครอบคลุมการตัดเศษ และการสูญเสียระหว่างการติดตั้ง
2.3. คำนวณหาจำนวนกระเบื้อง และจำนวนกล่องกระเบื้องที่ต้องใช้
หาพื้นที่กระเบื้อง 1 แผ่น
● วัดความกว้าง และความยาวของกระเบื้องเป็นเมตร
● นำความกว้างมาคูณกับความยาว จะได้พื้นที่ 1 แผ่น เป็นตารางเมตร
ตัวอย่าง
● ใช้กระเบื้องยาง SPC ขนาด 10x60 เซนติเมตร
● พื้นที่ 1 แผ่น = 0.1 เมตร * 0.6 เมตร = 0.06 ตารางเมตร
หาจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้
● นำพื้นที่ห้องมาหารด้วยพื้นที่กระเบื้อง 1 แผ่น
● บวกเพิ่มเผื่อเศษ 10% ไว้สำหรับกรณีกระเบื้องแตก หรือสูญเสีย
ตัวอย่าง
นำพื้นที่ห้องมาหารด้วยพื้นที่กระเบื้อง 1 แผ่น ( พื้นที่ห้อง = 72 ตารางเมตร )
● จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้ = 72 ตารางเมตร / 0.06 ตารางเมตร
● จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้ = 1200 แผ่น
เผื่อกระเบื้องสำรองไว้ 10%
● จำนวนกระเบื้องสำรอง = 1200 แผ่น * 10% = 120 แผ่น
รวมจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้ทั้งหมด
● จำนวนกระเบื้องทั้งหมด = 1200 แผ่น + 120 แผ่น
● จำนวนกระเบื้องทั้งหมด = 1320 แผ่น
หาจำนวนกล่องกระเบื้อง
● ตรวจสอบจำนวนกระเบื้องบรรจุต่อกล่องจากข้อมูลทั่วไป
● นำจำนวนกระเบื้องที่คำนวณได้ หารด้วยจำนวนกระเบื้องบรรจุต่อกล่อง
ตัวอย่าง
● กระเบื้องยาง SPC ขนาด 10x60 เซนติเมตร บรรจุ 24 แผ่น/กล่อง
● ต้องการใช้กระเบื้อง 1320 แผ่น
● จำนวนกล่อง = 1320 แผ่น / 24 แผ่น/กล่อง
● จำนวนกล่อง = 55 กล่อง
หมายเหตุ ● ข้อมูลจำนวนกระเบื้องบรรจุต่อกล่องเป็นข้อมูลทั่วไป อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ
● ควรเลือกซื้อกระเบื้องเผื่อไว้มากกว่าที่คำนวณไว้เล็กน้อย เผื่อกรณีกระเบื้องเสียหาย หรือต้องการปูเพิ่มในภายหลัง
3. วางตำแหน่งกระเบื้อง
ลายก้างปลาประกอบด้วยการเรียงกระเบื้องให้เป็นรูปตัว V ซิกแซก ดังนั้น ควรวางแผนล่วงหน้าว่าคุณจะเริ่มจากตำแหน่งใด และทิศทางใด ให้ทดลองวางกระเบื้องในบางจุดเพื่อดูการจัดวางของลวดลายว่ามีความสวยงามตรงต่อความต้องการ หรือไม่ ซึ่งการเตรียมการนี้จะช่วยป้องกันข้อผิดพลาดในการติดตั้งได้เป็นอย่างมาก
4. ติดตั้งกระเบื้องในการติดตั้งกระเบื้องยางลายก้างปลาหากต้องการให้ลายออกมาสวยงามควรเริ่มติดตั้งจากจุดกลางของห้อง และค่อยขยายออกไปยังขอบ วางกระเบื้องแผ่นแรกในตำแหน่งที่ต้องการโดยสังเกตสีของแผ่นโฟมใต้กระเบื้องเพื่อง่ายต่อการติดตั้ง และลดความผิดพลาดในการวางกระเบื้อง จากนั้นวางกระเบื้องแผ่นถัดไปในลักษณะเดียวกัน โดยล็อกแต่ละแผ่นเข้าด้วยกันจนกว่าจะเต็มพื้นที่ที่ต้องการ หากต้องการให้กระเบื้องพอดีกับขอบห้อง ใช้คัทเตอร์ หรือมีดตัดกระเบื้องเพื่อตัดกระเบื้องให้ได้ขนาดที่ต้องการ จากนั้นตรวจสอบว่ากระเบื้องทุกแผ่นล็อกเข้าที่ และไม่มีช่องว่าง ใช้ค้อนยางเคาะพื้นเพื่อช่วยให้กระเบื้องยึดติดกับพื้นได้ดี
5. การตัดกระเบื้องให้เข้ามุม
เมื่อติดตั้งกระเบื้องจนถึงบริเวณขอบผนัง หรือจุดที่ต้องตัดกระเบื้องสามารถใช้คัตเตอร์ตัดกระเบื้องให้เข้ากับพื้นที่ที่เหลือ การตัดกระเบื้องควรทำอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ขอบที่เรียบ และพอดีกับขอบผนัง
6. ตรวจสอบความเรียบร้อยของกระเบื้อง
เมื่อการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ให้ใช้ค้อนยางเคาะกระเบื้องเพื่อให้กระเบื้องคลิกล็อกกันสนิท และตรวจเช็กว่ามีจุดไหนของกระเบื้องที่ยังบกพร่อง มีช่องว่าง หรือไม่สมดุล หากพบให้รีบทำการแก้ไข้โดยทันที
7. ทำความสะอาดหลังติดตั้ง
หลังจากติดตั้งกระเบื้องเรียบร้อยแล้ว ทำความสะอาดพื้นที่โดยการเช็ดคราบกาว หรือสิ่งสกปรกที่อาจเปื้อนบนกระเบื้องโดยใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นผสมกับน้ำสะอาด แล้วใช้ไม้ถูพื้นบิดหมาดทำความสะอาดให้ทั่ว
การติดตั้งกระเบื้องยางลายก้างปลาด้วยตัวเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่ภายในบ้านอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับช่างมืออาชีพ ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และเทคนิคการติดตั้งที่เหมาะสำหรับมือใหม่ สามารถเปลี่ยนพื้นที่ภายในบ้านให้สวยงาม และทนทานได้ด้วยตัวเอง การเลือกใช้กระเบื้องยางที่มีคุณภาพอย่างกระเบื้องยางลายก้างปลาของ ไทย สุงฯ ช่วยให้พื้นบ้านสวยงามเป็นเอกลักษณ์ สบายเท้า นอกจากนี้ยังมีบริการทีมช่างปูกระเบื้อง SPC ชำนาญการคอยให้บริการ รวมไปถึงบริการสำรวจหน้างาน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านกระเบื้องคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด มั่นใจได้ทั้งในด้านคุณภาพสินค้า และบริการจากเรา